วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

การใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง

การใช้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง

เคล็ดลับ:
1. “SAY  / TELL หรือ TELL..TO”
“SAY” = ใช้ในกรณี เมื่อเราไม่ได้พูดถึงบางสิ่งบางอย่างซึ่งมีการกล่าวถึง (เหมือนเป็นการพูดลอยๆ)
เช่น: She says she is hungry (เขาพูดลอยๆ ว่าเขาหิว)
“TELL” = ใช้ในกรณี เมื่อเราอยากบอกใครคนนั้น
เช่น: She tells she/Jen that she is hungry (บอกตัวเองหรือเจนว่าหิว)
“TELL..TO = ใช้ในกรณีที่บอกคนๆนั้น ให้ไป..
เช่น: She tells Jen to get some food

2. ” TO หรือ TOO “
“TOO” = ใช้ในกรณี เมื่อมีความคิดเห็นตรงกัน (เหมือนกัน) เเละใช้ในกรณี เวลาต้องการอธิบายความรู้สึก
เช่น: It is too hot (รอธิบายความรู้สึก ว่าร้อน)
เเละ: I love yoo too (ฉันรักคุณเหมือนกัน)
“TO” = ใช้ในกรณีที่ ไปยังสถานที่นั้นๆ เเละรูปคำกิริยาธรรมดาที่ขึ้นต้นด้วย “to”ภาษาอังกฤษเรียกว่า infinitive
เเละในกรณีที่ การมีคนมาหาหรือมาหาใครสักคน
เช่น: I went to the hospital (ไปที่โรงพยาบาล)
เเละ: It is easy to see (infinitive “To see”)
เเละ: They came to visit us (มีคนมาหา)

ตัวตนเเละการขัดเกลาทางสังคม

Identity


ตัวตนเเละการขัดเกลาทางสังคม

มนุษย์เปลี่ยนแปลงตัวตนตัวเองตลอดเวลา โดยที่ไม่รู้ตัว “ฉันคือใคร?” “ชีวิตฉันต้องการอะไร?” คำๆถามเหล่านี้ ถูกถามตลอดเวลา ในสมัยที่ยังเป็นวัยรุ่น
คำว่าตันตน สามารถอธิบายได้อีกเเบบคือ การที่คนๆหนึ่งต้องการให้เราเป็น เเละการที่โลกต้องการให้เราเป็น
ถ้าบุคลิกของตัวเอง อยู่ใกล้บุคลิกในด่านทางสังคมเท่าไหร่ จะทำให้บุคคลคนนั้น มีโอกาสที่จะสามารถกลมกลืนกับชีวิตได้ด้วยดี
นักวิทยาศาสตร์สังคมได้อ้างว่า เป็นเพราะการเข้าช่วงทันสมัยตอนปลาย โดยมีการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว เเละปริมาณของข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีหลากหลายตัวเลือก ก่อให้เกิดความสับสน เเละความไม่ปลอดภัย

การเปลี่ยนตัวตนเเละบุคลิก

การเปลี่ยนตัวตน เกิดขึ้นได้หลักๆ 2 เเบบ:
1). การเปลี่ยนตัวตนเเละบุคลิกของตัวเอง เพื่อคนใดคนหนึ่ง
2). การเปลี่ยนตัวตนเเละบุคลิกในด่านสังคม
โดยการเปลี่ยนตัวตนเกิดขึ้นจากกระบวนการ การขัด เกลาทางสังคม เช่นการอบรมสั่งสอน  การขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการสอนพูด  การสอนมารยาทในการรับประทานอาหาร เพื่อให้เข้ากับสังคมกลุ่มนั้น
รวมไปถึงการ เปลี่ยนตัวเอง ที่มองคนอื่นเป็นเเบบอย่าง โดยเห็นคนอื่นเป็นเหมือนกระจก ที่สะท้อนให้เห็นเงาตัวเอง โดยฉเพราะปัจุบัญ จะเห็นได้ชัด การที่มีหุ่นดี เเสดงว่าคนๆนั้นประสบความสำเร็จ เพราะจะต้องมีเวลามีระเบียบวินัย ซึ่งมันทำให้รู้ว่าคนๆนั้นคือ ผู้ชนะ


สังคมที่เปลี่ยนไป

ในช่วงการเข้าช่วงทันสมัยตอนปลาย ที่ทุกๆอย่างเปลี่ยนเเปลงไปเร็วมาก อย่างเช่นในด่าน อุตสาหกรรม ความเป็นประชาธิปไตย การพัฒนาเทคโนโลยี เเละการพัฒนาเมือง  ทำให้ผู้คนย้ายถิ่นถานเข้ามาในเมือง เพื่อทำงานหารายได้ เพื่อที่จะได้พัฒนาตัวตน
การ พัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ทุกวันนี้ สังคมเปลี่ยนเเปลงกลายเป็น สังคมออนไลน์ ที่ทุกๆคนสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยสังคมออนไลน์ ทำให้โลกเปิดกว่างมากขึ้น ทุกๆคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน ประกอบด้วยโลกา ภิวัตน์ ที่ทำให้การสื่อสารในทุกๆวันนี้ง่ายขึ้น โดยที่เราสามารถเห็นเเละได้ยินเสียงกัน ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน เเละรวมไปถึงการซื้อขาย เเละเเลกเปลี่ยนสินค้าที่ง่าย สะดวก เเละรวดเร็ว


ข้อเสียของสังคมที่เปลี่ยนไป

เเต่ก่อน ถ้าคุณพ่อเป็นชาวนา ตัวลูกเองก็ต้องเป็นชาวนา เเต่ด้วยการที่เทคโนโลยี ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว เเละโลกาภิวัตน์ สงผลให้โลกเปิดโอกาสให้ทุกๆคน มีโอกาสมากขึ้น ทำให้ในช่วงวัยรุ่น การตัดสินใจอะไร ทำได้ค่อนข้างยากมากขึ้น จะสังเกตเห็นได้ชัด เวลาที่มีคนถาม จะเรียนต่อที่ไหน เรียนจบจะทำงานอะไร คำถามพวกนี้ตอบยากมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถก่อให้เกิด ความเครียดเเละความกังวล ที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต รวมไปถึงการที่เห็นคนอื่นมีของที่หรูหรา ทำให้มีความอยากได้ตาม ส่งผลทำให้ตัวเองต้องเป็นหนี้

อนุรักษนิยม

อนุรักษนิยม (Conservatism)

อนุรักษนิยม คืออะไร?

อนุรักษนิยม เป็นแนวทางความคิดที่เห็นการปกครองเเบบลำดับชั้น ประเพณีธรรมเนียม เเละศีลธรรม เป็นหลัก
โดยเเนวทางความคิดนี้ จะเน้นไปที่สังคม มากกว่าส่วนบุคคล
โดยอนุรักษนิยม เชื่อว่ามนุษย์ต้องพึ่งพาสังคม ช่วยเหลือซึ่งกันเเละกันในสังคม ถึงจะสามารถดำลงชีวิตได้ด้วยดี
เพราะเหตุนี้อนุรักษนิยม จึงเห็น ประเพณีธรรมเนียม ศาสนา เเละครอบครัว เป็นเรื่องที่สำคัญ
อนุรักษนิยม มีมุมมองที่ติดลบ ในด่านของมนุษย์ โดยจะมองว่า มนุษย์คือพวกที่อ่อนเเอ ขาดความรับผิดชอบ
ซึ่งเเนวทางความคิดนี้ ตรงข้ามกับเเนวทางความเเบบเสรีนิยม ที่เห็นมนุษย์ มีเหตุมีผล เเละอิสระ
อนุรักษนิยมเห็นความสำคัญในด่านอาชีพการงานเป็นหลัก โดยอาชีพการงานเป็นหลักค้ำประกัน ในการดำลงชีวิตให้มีความสูข เเละส่งผลทำให้นายจ้าง ไม่สามารถไล้เเรงงานออกจากองค์กร ได้อย่างง่ายดาย ถึงเเม้องค์กรกำลังจะล้มละลายเเล้วก็ตาม เพราะถ้าไล้เเรงงานออก เเรงงานก็ สามารถฟ้องศาลได้   เหตุที่ทำให้ต้องตกอยู่ในภายนอกสังคม
อนุรักษนิยม จะค่อนข้างหัวโบราณ ไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนเเปลง ถ้าจะเปลี่ยนเเปลงอะไรก็จะคำนึงนึกถึง ประเพณีธรรมเนียมเเละคุณค่า
เหตุนี้ทำให้อนุรักษนิยม พูดถึงการปกปักรักษา มากกว่าการเปลี่ยนเเปลง ซึ่งวิธีนี้จะสามารถทำให้ไม่ลืมตัวตน เเละถิ่นฐานของตัวเอง

ประเทศที่มีเเนวทางความคิดของ

แนวทางความคิดเเบบอนุรักษนิยม เป็นที่นิยมมากในประเทศเยอรมันนี เเละประเทศฝรั่งเศส
ปัจจุบันในประเทศไทย จะเห็นได้ชัดว่า การที่คุณพ่อไปทำงานหาเลี้ยงครอบครัว เเละให้คุณเเม่ทำงานบ้านเลี้ยงลูก ถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งนี้ก็คือหนึ่งในเเนวทางความคิดของอนุรักษนิยม ที่มีการปกครองเเบบลำดับชั้น

เสรีนิยม

เสรีนิยม คืออะไร?

เสรีนิยมเป็นแนวทางความคิดที่เห็นเสรีภาพและอิสระภาพเป็นหลัก โดยคำว่า Liber ภาษาละตินแปลว่า อิสระภาพ
โดยปิกติแล้วแนวทางความด่านเสรีภาพ จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1. เสรีภาพด่านการเมือง เเละ 2. เสรีภาพด่านเศรษฐกิจ
ในด่านเสรีภาพทางการเมือง จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชนส่วนบุคคลเเละหน้าที่
ส่วนในด่านเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตลาดเสรี เเละทุนนิยม
โดยวิสัยทัศน์ทางสังคมของเสรนิยม คือการที่รัฐไม่ค่อยมีบทบาททางสังคม กับกฎระเบียบที่น้อย เเละการจ่ายภาษีที่น้อย ทำให้สังคมของเสรีนิยม นำไปสู่ความเสมอภาค ที่ไม่ที่เท่ากัน โดยคนที่เเข็งเเกร่งที่สุดคือผู้ที่อยู่รอดในสงคม
เเต่อย่างไรก็ตามเสรีนิยมเชื่อว่า การที่ทุกๆคนมีอิสระภาพ ไม่ว่าจะเป็นอิสระภาพในด่านการดำรงชีวิต หรืออิสระภาพทางการเงิน ที่จะสามารถเเสวงหาความสูขเเละความมั่งคั่งให้เเก่ตัวเองเเละสังคมได้ จะนำมาสู่ความเจริญเติบโตในสังคม
โดยประเทศที่มีเเนวความคิดเเบบเสรีนิยม จะเห็นได้ชัดคือ สหรัฐอเมริกา

ประวัติของเสรีนิยม

โดยความคิดนี้ เกิดขึ้นจาก 2 บรรพบุรุษ ได้เเก่ John Locke เเละ Adam Smith
โดย John Locke คือบรรพบุรุษในด่าความคิดเสรีภาพทางการเมือง
ส่วน Adam Smith คือบรรพบุรุษในด่านเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
Adam Smith เชื่อว่าเสรีภาพส่วนบุคคล จะนำพามาสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
โดยการที่มีตลาดเสรี ที่ควบคุมตัวเองผ่านอุปสงค์และอุปทาน โดยที่รัฐไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว นอกจากนี้เขายังได้กล่าวถึงทฤษฎี มือที่มองไม่เห็น ที่จะทำให้ประเทศมีความเจริญกล่าวหน้า
เเละเขายังเชื่อว่า การที่คนเรามีความคิดที่มีเหตุมีผล จะนำไปสู่ความเจริญกล่าวหน้าต่อชีวิต

สังคมนิยม

สังคมนิยม คืออะไร?

สังคมนิยม คือเเนวทางการคิดทางสังคม ที่เน้นความเสมอภาคในทั้งด่านสังคมเเละเศรษฐกิจ โดยการยกเลิกกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล
เเละเปลี่ยนทรัพย์สินทั้งหมดให้เป็นของสังคมส่วนรวม โดยการจ่ายภาษีที่เเพง ซึ่งเเนวทางความคิดนี้เรียกอีกเเบบคือ “เเนวทางความคิดเเบบโรบินฮูด”
ซึ่งเป็นการเอาจากคนรวย โดยให้คนรวยจ่ายภาษีที่มาก เเละนำเงินที่ได้จากภาษี มาเเบ่งใช้ในสังคม อย่างเช่น: ทำการสร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน โดยให้ทุกๆคนได้เรียนหรือรักษาตัวฟรีเป็นต้น ซึ่งสังคมนิยม นำไปสู่สังคมเเบบไม่มีชนชั้น มีความเสมอภาคระหว่างเพศ ปราศจากการกดขี่เอาเปรียบระหว่างกัน เเละมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
โดยในสังคมนิยม รัฐจะมีบทบาทมากที่สุด โดยรัฐคือสุนกลางในการแบงผลประโยชน์ให้เท่าเทียมกัน
โดยประเทศที่มีเเนวความคิดเเบบสังคมนิยม จะเห็นได้ชัดคือ ประเทศสวีเดน ประเทศเดนมาร์ก เเละประเทศนอร์เวย์


การเกิดขึ้นของสังคมนิยม

เเนวทางความคิดนี้เกิดขึ้นในปี ค.ส. 1800 โดยมีการเกิดจากกลุ่มเล็กๆของคน งานในโรงงาน ที่มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ทั้งที่ทำงานอย่างหนังเเละเหน็ดเหนื่อย เเต่ก็ไม่พอกิน โดยลูกๆที่พึ่งจะมีอายุ 5-7 ขวบ ก็ต้องเริ่มทำงานหาเงินในโรงงาน ทั้งนี้ทำให้ คาร์ล มากซ์ คนที่ริเริ่มเเนวทางความคิดสังคมนิยม วิเคราะระบบทุนนิยม เขาได้เอ่ยว่านายทุนเอาเปรียบ ลูกน้อง ด้วยการที่นายทุนร่ำรวยขึ้นทุกวันๆ เเต่ลูกน้องกลับต้องจนลงๆ

ความเหมือนเเละความต่าง

สังคมนิยมมีอะไรหลายๆอย่างที่เหมือนเสรีนิยม อย่างเช่น: เสรีภาพ เเต่เมื่อพูดถึงในด่านการเเบ่งปัน สังคมนิยมเห็นว่า รัฐควรเป็นผู้เเบ่งปัน เพื่อให้สังคมเท่าเทียมกัน โดยสังคมนิยม ไม่ชอบความไม่เสมอภาค เเต่เสรีนิยมกลับชอบความไม่เสมอภาค เพราะเสรีนิยมเชื่อว่าความไม่เสมอภาค นำไปสู่การเจริญเติบโต

อาเซียน

asean flag
 

อาเซียน คืออะไร?

ประชาคมอาเซียน เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประชาคมอาเซียน ได้มีการเเบ่งความร่วมมือเป็น 3 เสาหลัก ได้เเก่:
1.ประชาคมการเมืองเเละความมั่นคงอาเซียน หรือ APSC
2.ประชาคมเศรฐษกิจอาเซียน หรือ AEC
3.ประชาคมสังคมเเละวัฒนธรรมอาเซียน หรือ ASCC
เพื่อเป็นกลไกสำคัญ ที่จะทำให้ทุกประเทศในประชาคมอาเซียน เป็นหนึ่งเดียว เติบโตไปด้วยกัน โดยปาดสะจากความขัดแย้ง
ส่วนในด่านเศรษฐกิจ จุดประสงค์หลักๆ เเบ่งออกเป็น 3 ประการ ได้เเก่ 1.เสรีทางสินค้า 2. เสรีทางเเรงงาน 3. เสรีทางด่านเงินทุน
ซึ่งการเปิดสมาคมอาเซียนนั้น ก็เพื่อเเก้ใขปัญหาในด่านธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการเติบโตอย่างช้า โดยอาเซียนมีเป้าหมาย ที่จะเป็นผู้นำต้นๆในด่านเศรษฐกิจเเละการค้าของโลก

ประวัติประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามที่ชิ่อว่า ปฏิญญากรุงเทพ ทำให้อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ
ปัจจุบันประชาคมอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศ ได้เเก่: ไทย,ฟิลิปปินส์,กัมพูชา, บรูไน พม่า, เวียดนาม,ลาว,มาเลเซีย,อินโดนีเซีย และสิงคโปร์

ปัญหาในอาเซียน

จากประวัติศาสตร์ ทำให้ประเทศในอาเซียนค่อนข้างหวงเเหนอธิปไตยเเละอาณาเขตอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยประเทศไทย ก็กลัวในเรื่องค่าเเรงงานขั้นต่ำ ที่ผู้ประกอบการจะนำเข้ามา เพราะอาจจะส่งผลกระทบ ทำให้มีการว่างงานเป็นจำนวนมากในประเทศ  นอกจากนี้ อีกปัญหาที่เห็นได้ชัดคือ เเต่ละประเทศในอาเซียน ค่อนข้างที่จะผลิตสินค้า เหมือนกัน ทำให้แต่ละประเทศพยายามส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศตน โดยการใช้กำแพงภาษี ซึ่งเป็นการสวนทางกับหลักการในการรวมกลุ่มและตลาดการค้าอย่างเสรี

สหภาพยุโรป

eu
  สหภาพยุโรป คืออะไร?
สหภาพยุโรป เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยก่อตั้งหลังสงครามโลงครั้งที่สอง เเละมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามในทวีปยุโรป
โดยความคิดนี้เริ่มขึ้นในปี 1946 จาก วินสตัน เชอร์ชิล (Wiston Churchill) นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
โดยวินสตัน เชอร์ชิลต้องการให้ทวีปยุโรปมีความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยเเละมีความสงบสูข.
ในปี 1950 Jean Monnet ข้าราชการของฝรั่งเศส ได้ยื่นข้อเสนอให้มีการเก็บถ่านเเละผลิตเหล็กร่วมกัน ภายใต้อำนาจของรัฐในทวีปยุโรป
ถึงเเม้จะเป็นเรื่องที่ยาก ที่จะทำให้ประเทศฝรั่งเศสเเละประเทศเยอรมันยอมรับเเนวคิดนี้ได้ เเต่ Monnet ก็สามารถโน้มน้าวใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศสได้
ในปี 1951 ประเทศฝรั่งเศสได้ลงนามให้มีการเก็บถ่านเเละผลิตเหล็กร่วมกัน ภายใต้อำนาจของรัฐในทวีปยุโรป เเละขณะเดียวกันประเทศเยอรมันนี (ที่ตอนนั้นเรียกว่าประเทศเยอรมนีตะวันตก)
เเละอิตาลี, เบลเยี่ยม, เนเธอร์แลนด์ เเละลักเซมเบิร์ก ได้ลงนามเช่นกัน ทำให้ในปี 1952 ได้ก่อกำเนิดสหภาพยุโรปขึ้น

ความพิเศษเเละองค์กรของสหภาพยุโรป

ระบบของสหภาพยุโรป จะเเตกต่างจากระบบการเมืองเเบบในประเทศ
โดยสหภาพยุโรป ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีเเละไม่มีทหารเเละตำรวจเป็นของตัวเอง
โดยองค์กรของสหภาพยุโรป หลักๆจะเเบบออกเป็น 5 ตำเเหน่ง:
1. สภายุโรป
2. ศาล
3. คณะรัฐมนตรี
4.รัฐสภายุโรป
5. คณะกรรมาธิการ

สภายุโรป ประกอบด้วย รัฐเเละรัฐบาล ของเเต่ละประเทศ จากประเทศสมาชิก เเละมีหน้าที่อยู่ 3 อย่าง:
1. ทำให้สหภาพยุโรปมีความก้าวหน้า
2. แก้ไขปัญหาภายในสหภาพยุโรป
3. แก้ไขสถานการณ์วิกฤต

ศาล คือผู้ที่ตัดสินทุกๆคดีในสหภาพยุโรป โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ทุกๆฝ่ายเป็นธรรม เเละถูกต้องตามกฏหมาย โดยศาล หรือผู้ตัดสินคดี ประกอบด้วย 27 ผู้พิพากษา โดยมี 1 ผู้พิพากษาของเเต่ละประเทศสมาชิก


คณะรัฐมนตรีของสหภาพยุโรป จะเเบ่งออกเป็นหลายๆคณะ เเละมีนโยบายที่แตกต่างกัน เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ  มีนโยบายทางเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงด้านสุขภาพ มีนโยบายในด้านสุขภาพ เเละรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร มีนโยบายในด้านการเกษตรและการประมง ซึ่งคณะรัฐมนตรีของสหภาพยุโรป ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงของเเต่ละประเทศ จากประเทศสมาชิก
เเละคณะรัฐมนตรีของสหภาพยุโรปยังมีหลายหน้าที่ เช่น นำเอากฎหมายมาใช้ อนุมัติงบในสหภาพยุโรป


คณะกรรมาธิการของสหภาพยุโรป คือตัวริเริ่มการออกกฎหมายของสหภาพยุโรป โดยการออกกฎหมายนั้น จะออกได้ก็ต่อเมื่อมีเสียงข้างมากจากประชาชนของเเต่ละประเทศ นอกจากนี้คณะกรรมาธิการของสหภาพยุโรป ยังได้ฉายาว่า สุนัขเฝ้าบ้าน  โดยถ้าหนึ่งในประเทศสมาชิก ไม่ทำตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการของสหภาพยุโรปสามารถเลือกที่จะฟ้องศาลได้


รัฐสภายุโรป คือตัวเเทนของประชาชนเเต่ละประเทศ โดยมีหน้าที่นำกฏหมายมาใช้ รับผิดชอบงบประมาณของสหภาพยุโรป เเละมีหน้าที่เป็นยาม คอยสอดส่องตรวจสอบการทำงานของเเต่ละคณะ เพื่อให้ทุกอย่างอยู่ในระบอบประชาธิปไตย  โดยตลอดทุกๆ 5 ปี จะมีการเลือกตั้ง เพื่อหาตัวเเทนของประชาชน โดยให้เข้าไปทำงานในสภายุโรป