วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

อนุพันธ์แคลคูลัส

อนุพันธ์แคลคูลัส คืออะไร?

อนุพันธ์แคลคูลัส เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการวิเคราะห์คณิตศาสตร์ อนุพันธ์แคลคูลัส คือการ กำหนดความเร็วของฟังก์ชั่นที่เติบโตขึ้นเเละลดลงในจุดใดจุดหนึ่งของฟังก์ชัน
โดยการหาความลาดชันของเส้นสัมผัส (tangent ตัวย่อ at) การหาเส้นสัมผัสไม่สามารถทำได้โดยตรง ชะนั้นจำเป็นที่ต้องพึ่งเส้นตัดที่สองจุด (secant ตัวย่อ as)เพื่อหาเส้นสัมผัส.
นอกจากนี้ยังสามารถใช้เส้นสัมผัส เพื่อตรวจสอบการทำงานของจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของฟังก์ชั่นได้อีกด้วย

ทฤษฎีเเละการพิสูจน์

ด้วยสามขั้นตอนนี้ ทำให้สามารถหาเส้นสัมผัสได้ เเละทฤษฎีนี้สามารถรพิสูจน์ได้โดยสามขั้นตอนนี้

1. Δf = ƒ(x0+h)-ƒ(x0)

2. as = Δf ⁄ h

3. at = as⇒at , h⇒0

 

 

 

 

โดยในที่นี้ เราจะมาดูสมการยกกำลังสอง ที่เวลาทำการอนุพันธ์ จะสามารถทำให้หาเส้นสัมผัสเเละกำหนดความเร็วได้:

f(x) = (ax²+bx+c)’=> f'(x)= 2ax+b

เริ่มต้นด้วยขั้นตอนที่หนึ่ง ด้วยการหา Δf

1. Δf = ƒ(x0+h)-ƒ(x0)

ใช้สมการยกกำลังสอง โดยใส่ (x0+h)เข้าไปตรง x

ƒ(x0+h) = a(x0+h)2+b(x0+h)+c

ใช้ทฤษฎีบททวินาม (x+y)2=x2+y2+2xy

ƒ(x0+h) = a(x2+h2+2x0h)+b(x0+h)+c

คูณเข้าไปในวงเล็บ

ƒ(x0+h) = ax2+ah2+2ax0h+bx0+bh+c

ลบด้วย f(x)=(ax²+bx+c)

Δf = ax2+ah2+2ax0h+bx0+bh+c-(ax²+bx+c)

โดย ax²+bx+c ต่อต้านกันทำให้เหลือ

Δf = ah2+2ax0h+bh


2. as = Δf ⁄ h

Δf มีตัวประกอบคือ h ทำให้สามารถนำ h ออกวานอกวงเล็บได้

as = ah2+2ax0h+bh ⁄ h ⇔ h(ah+2ax0+b) ⁄ h

h หาร h ต่อต้านกันทำให้เหลือ

as = ah+2ax0+b


3. at = as→at , h→0

ถ้าดูจากกราฟข้างบนตรงจุด f(x0+h)จะเห็นได้ว่าเวลา f(x0+h) เลื่อนลงมาใกล้จุด f(x0)จะทำให้ค่าของ h เป็น 0

at = ah+2ax0+b⇒2ax0+b , h⇒0

เวลาที่ as เลื่อนลงมาใกล้จุด at จะทำให้ค่า h เป็น 0

at = 2ax0+b

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น